跳至内容的开始

border image

ภาษาไทย

border image
Content here

เว็บไซต์สำนักงานกฎหมายรัฐธรรมนูญและกิจการแผ่นดินใหญ่ (Constitutional and Mainland Affairs Bureau หรือ CMAB) ใน ภาษาไทยจะประกอบไปด้วยเนื้อหาที่มีประโยชน์บางส่วนเท่านั้น ท่านสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ฉบับเต็มรูปแบบของเราได้ในภาษาอังกฤษ ภาษาจีนตัวเต็ม หรือภาษาจีนตัวย่อ

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของสำนักงานกฎหมายรัฐธรรมนูญและกิจการแผ่นดินใหญ่ (Constitutional and Mainland Affairs Bureau หรือ CMAB) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง (Hong Kong Special Administrative Region หรือ HKSAR) ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยได้มีการบังคับใช้กฎหมายพื้นฐานในวันเดียวกัน ซึ่งเป็นรากฐานทางกฎหมายให้แก่ระบบกฎหมายต่าง ๆ ที่มีผลบังคับใช้ในฮ่องกง

CMAB มีหน้าที่สอดส่องดูแลการบังคับใช้กฎหมายพื้นฐานให้เป็นไปอย่างเต็มรูปแบบและสุจริต เราได้พัฒนาและรักษาความสัมพันธ์เพื่อปฏิบัติการเชิงโครงสร้างกับทางรัฐบาลฮ่องกง รวมถึงรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงหน่วยงานจากแผ่นดินใหญ่อื่น ๆ โดยเป็นไปตามหลัก “หนึ่งประเทศ สองระบบ” “การบริหารฮ่องกงโดยชาวฮ่องกง” และความเป็นอิสระในระดับสูงอีกด้วย

โดยทั่วไป งานของ CMAB สามารถแบ่งออกได้เป็นสามประเภทหลัก ๆ ได้แก่ (ก) ประสานงานและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับแผ่นดินใหญ่ (ข) รับมือกิจการเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง รวมถึงติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างใกล้ชิด เพื่อรับประกันว่าการเลือกตั้งของประชาชนจะเป็นไปอย่างยุติธรรม เปิดเผย และสุจริต (ค) ส่งเสริมการขจัดให้หมดไปซึ่งการเลือกปฏิบัติ ความเท่าเทียมในการได้โอกาส และการปกป้องคุ้มครองความเป็นส่วนตัว

หัวข้อต่อไปนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในงานของ CMAB โปรดกดปุ่ม “+” เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

กฎหมายพื้นฐาน

ปฏิญญาร่วมของรัฐบาลจีนและรัฐบาลอังกฤษว่าด้วยปัญหาฮ่องกง (ปฏิญญาร่วม) ได้รับการลงนามระหว่างรัฐบาลจีนและรัฐบาลอังกฤษ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1984 โดยปฏิญญาร่วมฉบับนี้กำหนดเรื่องสำคัญหลายประการ รวมถึงนโยบายพื้นฐานของสาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China หรือ PRC) ที่จะมีต่อฮ่องกง ทั้งนี้ ภายใต้หลักการ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” นั้น จะต้องไม่มีการปฏิบัติแนวความคิดและนโยบายสังคมนิยมในฮ่องกงเป็นอันขาด โดยจะต้องรักษาระบบเศรษฐกิจและวิถีชีวิตแบบทุนนิยมที่ฮ่องกงดำเนินมาก่อนหน้านี้ต่อไปอีก 50 ปี ปฏิญญาร่วมฉบับนี้กำหนดให้นโยบายพื้นฐานเหล่านี้ปรากฎอยู่ในกฎหมายพื้นฐานของฮ่องกง

กฎหมายพื้นฐานของฮ่องกง (กฎหมายพื้นฐาน) ได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1990 โดยสภาประชาชนแห่งชาติสมัยที่เจ็ด (National People’s Congress หรือ NPC) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1997

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายพื้นฐาน โปรดคลิกที่นี่*

หน่วยงานของฮ่องกงบนแผ่นดินใหญ่ และที่ไต้หวัน

รัฐบาลฮ่องกงได้ก่อตั้งเครือข่ายหน่วยงานอย่างเป็นระบบทั้งบนแผ่นดินใหญ่ คือ สำนักงานกรุงปักกิ่ง* สำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกง (HKETO) เมืองเซี่ยงไฮ้* ในภาคตะวันออก, สำนักงาน HKETO เมืองกวางตุ้ง* ในภาคใต้, สำนักงาน HKETO เมืองเฉิงตู* ในภาคตะวันตก และสำนักงาน HKETO เมืองอู่ฮั่น* ในภาคกลาง (เรียกรวมกันว่า “สำนักงานบนแผ่นดินใหญ่”) โดยสำนักงานบนแผ่นดินใหญ่ทั้งห้าแห่งนี้ มีหน้าที่ดำเนินการติดต่อสื่อสารและประสานงานระหว่างฮ่องกงและแผ่นดินใหญ่ นอกเหนือจากนี้ ได้มีการก่อตั้งกรมคนเข้าเมืองในสำนักงานบนแผ่นดินใหญ่ทั้งห้าแห่ง เพื่อให้ความช่วยเหลือในทางปฏิบัติแก่ประชาชนชาวฮ่องกงที่ตกทุกข์ได้ยากบนแผ่นดินใหญ่ และให้บริการสมัคร/รับเล่มหนังสือเดินทางฮ่องกงแก่ประชาชนชาวฮ่องกงบนแผ่นดินใหญ่

ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาเครือข่ายสำนักงานบนแผ่นดินใหญ่ให้ดียิ่งขึ้น รัฐบาลฮ่องกงจึงได้กำหนดให้มีหน่วยประสานงานอย่างน้อยสองหน่วย ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานแต่ละแห่ง

ในขณะนี้ สำนักงานเศรษฐกิจ การค้า และวัฒนธรรมฮ่องกง (ไต้หวัน) ยังคงระงับการปฏิบัติการเป็นการชั่วคราว

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดคลิกที่นี่*

การเลือกตั้ง

สภานิติบัญญัติได้มีมติผ่านกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาระบบการเลือกตั้ง (ฉบับรวมบทแก้ไข) ค.ศ. 2021 โปรดไปที่เว็บไซต์ประจำหัวข้อ* เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

สภานิติบัญญัติได้มีมติผ่านกฎหมายว่าด้วยสภาบริหารเขต (ฉบับแก้ไข) ค.ศ. 2023 โปรดคลิกที่นี่* เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โปรดคลิกที่นี่*

โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (เขตเศรษฐกิจพิเศษ) ถือเป็นกลยุทธ์ด้านการพัฒนาประการสำคัญในการปฏิรูปประเทศ เพื่อต้อนรับการมาถึงของยุคสมัยใหม่ รวมถึงเป็นการดำเนินหลักการ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ให้ลึกซึ้งขึ้นอีกด้วย เขตเศรษฐกิจพิเศษ ประกอบไปด้วยเขตบริหารพิเศษสองแห่ง คือ ฮ่องกงและมาเก๊า รวมถึงนครเก้าแห่ง ได้แก่ กว่างโจว, เซินเจิ้น, จูไห่, ฝอซาน, ฮุ่ยโจว, ตงกว่าน, จงชาน, เจียงเหมิน และจ้าวชิ่ง ในมณฑลกวางตุ้ง โดยการพัฒนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างมณฑลกวางตุ้ง ฮ่องกง และมาเก๊า ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการอาศัยความได้เปรียบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเขตบริหารแต่ละแห่ง และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ด้วยวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษให้เป็นพื้นที่หรูหรา สอดคล้องมาตรฐานนานาชาติ เหมาะสำหรับเป็นพื้นที่อยู่อาศัย ทำงาน และท่องเที่ยว

รัฐบาลฮ่องกงให้ความสำคัญแก่โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นอย่างมาก และให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากแผ่นดินใหญ่และจากมาเก๊า เพื่อเสริมสร้างนโยบายรูปแบบใหม่สำหรับส่งเสริมการไหลเวียนอย่างราบรื่นระหว่างผู้คน สินค้า เงินทุน และข้อมูลข่าวสารภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนและธุรกิจในฮ่องกง ได้ประโยชน์จากโอกาสอันมากมายมหาศาลที่จะเกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในครั้งนี้

การส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเชื้อชาติ

รัฐบาลฮ่องกงมีความมุ่งมั่นที่จะกำจัดให้หมดไปซึ่งการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของเชื้อชาติ และประสงค์ที่จะส่งเสริมความเท่าเทียมในการได้รับโอกาสของผู้คนจากเชื้อชาติต่าง ๆ CMAB เองก็ให้ความสำคัญในการรับประกันว่าประชาชนทุกคนจะมีสิทธิในการเข้ารับบริการที่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะมีพื้นหลังทางเชื้อชาติแบบใดก็ตาม

ระเบียบปกครองว่าด้วยการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเชื้อชาติ (“ระเบียบ”) ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเสริมสร้างความตื่นตระหนักให้กับหน่วยงานและแผนกต่าง ๆ ของรัฐบาล รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (หรือที่เรียกรวมกันว่า “หน่วยงานของรัฐ”) ในด้านความหลากหลายทางเชื้อชาติ และการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วม ภายใต้ระเบียบฉบับนี้ หน่วยงานของรัฐได้กำหนดเกณฑ์กำหนดมาตรการขึ้นมา เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการของรัฐ รวมถึงบริการล่ามแปลภาษาและบริการแปลภาษาสำหรับผู้ใช้บริการของรัฐตามความเหมาะสม โดยสามารถรับชมสถิติในภาพรวมได้ที่นี่

เกณฑ์กำหนดมาตรการของ CMAB
สถิติการเข้ารับบริการล่ามแปลภาษาและบริการแปลภาษาที่จัดโดย CMAB ในแต่ละปี

สิทธิของบุคคล

ในด้านสิทธิต่าง ๆ ของบุคคล อาทิ สิทธิมนุษยชน, สิทธิที่จะได้รับโอกาสเท่าเทียมกัน, การปกป้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, การเข้าถึงข้อมูล และอื่น ๆ โปรดคลิกที่นี่*

*เนื้อหาเหล่านี้อยู่ในภาษาอังกฤษ ภาษาจีนตัวเต็ม หรือภาษาจีนตัวย่อเท่านั้น